Two Dimensional Note

บันทึกการเรียนการสอน วิชา 2 Dimensions Design ปีการศึกษา 2563คณะศิลปกรรมศาสตร์ ภาควิชาการออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยกรุงเทพออกแบบและสอนโดย สันติ ลอรัชวีบันทึกและเรียบเรียงโดย อรรฆพงศ์ ผลประเสริฐ และ สันติ ลอรัชวี ผมโชคดีที่มีโอกาสได้กลับไปสอนวิชาพื้นฐานอย่างการออกแบบสองมิติ อันเป็นวิชาแรกที่ผมมีโอกาสได้สอนครั้งเป็นอาจารย์ใหม่ๆ เป็นวิชาที่ทำให้เราได้เข้าใจการทำงานที่ผ่านมาว่ามันเกิดอะไรขึ้น และส่งผลให้ตนเองขยับขยายมุมมองและขอบเขตการทำงานออกไปได้หลังจากนั้น การได้มาสอนวิชานี้จึงช่วยตอกย้ำตนเองว่าพื้นฐานเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาตนเอง และได้สอนและเรียนไปในตัวผ่านวิชาการออกแบบสองมิติมาอีก 6-7 ปี ร่วมสอนกับอาจารย์หลายท่าน และได้สอนนักศึกษาหลายภาควิชา เมื่ออาจารย์บอลล์ ปิยลักษณ์ เบญจดล มอบโอกาสนี้ให้ จึงเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและตั้งใจว่าจะออกแบบการเรียนรู้อย่างจริงจังในการกลับมาสอนครั้งนี้ โดยได้มีโอกาสร่วมสอนกับ เต้ อรรฆพงศ์ ผลประเสริฐ ลูกศิษย์ที่ภายหลังได้มาร่วมทำโรงเรียนออกแบบด้วยกัน (PRACTICAL school of design) ในการสอนครั้งนี้ขอบคุณเต้เป็นอย่างสูงที่บันทึกการเรียนการสอนครั้งนี้ไว้ ทำให้ระหว่างที่กลับมาอ่านและเรียบเรียงนั้น รู้สึกซาบซึ้งและขอบคุณอย่างมาก เพราะอย่างน้อยมันเป็นกระจกช่วยสะท้อนสิ่งที่เราได้ทำและเป็นแนวทางในการปรับปรุงต่อไป ส่วนท่านที่ได้อ่าน หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ บันทึกสองมิติ 0เป้าหมาย วิชานี้ถูกออกแบบชั้นเรียนให้เป็นพื้นที่ที่สร้างประสบการณ์ให้กับผู้เรียนทุกคน เราออกแบบ ทดลอง แล้วจึงสรุปผล  ดังนั้นผู้ที่มีเป้าหมายและเข้าใจเป้าหมายของการเรียนรู้ของตัวเองนั้น จึงจะเป็นผู้ตัดสินผลการเรียนรู้นั้นได้ดีที่สุด ไม่ใช่ผู้สอน วิชานี้จึงเริ่มต้นออกแบบด้วยการวาง … Continue reading Two Dimensional Note

แนะนำหนังสือสัญศาสตร์กับการออกแบบกราฟิก

สันติ ลอรัชวีแปลและเรียบเรียงจากบทนำและบทส่งท้ายจากหนังสือ Fire Signs: A Semiotics Theory for Graphic Design โดย Steven Skaggs IMAGE: https://www.logodesignlove.com/firesigns-semiotic-theory-graphic-design เมื่อผมเริ่มเปิดคอร์ส A stone in your mind กับ PRACTICAL school of design ที่มีเป้าหมายจะนำเอาแนวคิดทางสัญศาสตร์มาเป็นแกนกลางในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้านออกแบบ โดยกำหนดจุดเริ่มต้นที่ทุกคนร่วมทางกันได้อย่าง “ก้อนหิน” หนังสือเล่มหนึ่งที่ใช้เป็นคบเพลิงให้แสงสว่างนำทางทั้งความเข้าใจและแรงบันดาลใจก็คือ Fire Signs ของ Steven Skaggs แม้ทุกวันนี้อ่านจบอย่างงงๆ ไปแล้ว แต่แต่ต้องคอยมาแปลและตีความอยู่ตลอด เพื่อหาทางนำไปใช้และแบ่งปันกับผู้เข้าร่วมคอร์ส บทเรียบเรียงนี้คิดว่ามีประโยชน์มากต่อการฉายภาพอีกมุมของการออกแบบกราฟิก รวมไปถึงเป็นการป้ายยาให้หลายคนที่อาจสนใจไปหาอ่านต่อด้วยตัวเอง ————— เพียงบทนำของหนังสือ Fire Signs ของ Steven Skaggs ก็เพียงพอต่อการแจกแจงวิชาชีพกราฟิกดีไซน์ที่เปิดกว้าง ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่าง “พาณิชย์ศิลป์” และ “การออกแบบกราฟิกร่วมสมัย” รวมถึงทิศทางและหน้าที่ของทฤษฎีการออกแบบกราฟิกที่ควรจะเป็น หากใครมีกำลังในการอ่าน … Continue reading แนะนำหนังสือสัญศาสตร์กับการออกแบบกราฟิก

Gestalt 101 — Fool the eyes

สันติ ลอรัชวี นิทานเซนเรื่องหนึ่งสอนว่า…แรกเริ่ม…มองแม่น้ำก็เป็นแม่น้ำมองภูเขาก็เป็นภูเขาไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างเลยแต่ต่อมา… จะมองเห็นว่าแม่น้ำไม่ได้เป็นแม่น้ำ ภูเขาไม่เป็นภูเขาแม่น้ำก็เป็นเพียงธาตุ ภูเขาก็เป็นธาตุแต่เมื่อผ่านชีวิตมากขึ้น…กลับมามองเห็นแม่น้ำนั้นก็เป็นแม่น้ำภูเขาก็เป็นภูเขาดังเดิม Heraclitus นักปรัชญากรีกโบราณยังกล่าวไว้ว่าไม่มีใครที่ก้าวลงแม่น้ำสายเดิมได้เป็นครั้งที่สองเหตุเพราะแม่น้ำนั้นไม่ใช่สายเดิม คนๆ นั้น ก็ไม่ใช่คนเดิมอีกต่อไปไม่ว่าแม่น้ำหรือบุคคลก็เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เมื่อเรายืนอยู่ชั้นบนของอาคารสูงแล้วมองออกไป…เห็นตึกรามบ้านช่อง ต้นไม้ และท้องฟ้าในทางทฤษฎีอาจกล่าวได้ว่าเราเห็นค่าความสว่างของแสงและความต่างของสีแต่เราก็ไม่ได้คิดว่าเห็นค่าอะไรทั้งนั้นเราเห็นมันเป็นรูปทรงรูปร่างที่ทำให้เราเข้าใจว่ามันคืออะไรหรือบ้างครั้งเราก็มองเห็นภาพรวมๆ นั้นเป็นฉากของเมืองอาจมีตึกบางตึกที่ทำให้เราบอกได้ว่านี่คือกรุงเทพฯ ที่เรารู้จัก เวลาที่เราฟังเพลง…เราก็ไม่ได้ใส่ใจแยกแยะหรือรับรู้ว่ากำลังได้ยินเสียงแต่ละโน้ตกำลังเรียงตัวกันสลับกันไปมาบ้าง ดังขึ้นพร้อมกันบ้าง ยกเสียงสูงขึ้นลงต่ำอย่างไรแต่เราได้ยินเป็นท่วงทำนองดนตรี ไพเราะหรือไม่คงขึ้นอยู่กับคุณที่กล่าวมา... มันน่าสนใจอย่างไรย้อนกลับไปช่วงปลายศตวรรษที่ 19นักปรัชญาและนักจิตวิทยาชาวออสเตรีย Christian von Ehrenfelsเคยตั้งถามน่าสนใจว่า “เรารับรู้ทำนองดนตรีได้อย่างไร?” “อะไรที่อยู่ในความคิดของเราขณะกำลังได้ยินท่วงทำนอง?”เมโลดี้คือลำดับของโทนเสียง เป็นคลื่นเสียงที่มีความถี่ต่างกันหูของเรารวบรวมการสั่นสะเทือนเหล่านี้แปลงเป็นกระแสไฟฟ้าและส่งต่อไปยังสมองของเราโน้ตเหล่านี้ได้รับการตัดเย็บในรูปแบบเฉพาะของความสัมพันธ์ระหว่างโน้ต จังหวะ และความสอดประสาน ท่วงทำนองนั้นถูกบันทึกไว้ในความทรงจำของเรา เป็นทำนองที่เราสามารถจำได้ในอนาคต Ehrenfels เริ่มศึกษาจากงานของนักวิทยาศาสตร์ Ernst Mach ที่ชื่อ “Contributions to analysis sensation” ซึ่ง Mach เสนอว่าเวลาเราเห็นเส้นตรงสามเส้นที่เชื่อมต่อกันนอกเหนือไปจากความรู้สึกพื้นฐานของที่เห็นเป็นเส้นสามเส้นแล้วเรายังรู้สึกถึง “รูปร่าง - รูปแบบ (shape-form)” ไปในขณะเดียวกันด้วย (เช่นรูปทรงสามเหลี่ยม)เขาขยายความคิดนี้ไปในด้านรูปแบบที่เกี่ยวกับเวลา (time-forms) เช่นกันและเสนอว่าการที่เรารับรู้ทำนอง อาจเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกันดังนั้นเมื่อเราได้ยินโน้ตแต่ละตัว เราก็ตระหนักถึงเสียงทั้งหมดที่ได้ยินด้วย แต่ … Continue reading Gestalt 101 — Fool the eyes

Fikra Graphic Design Biennial 01 — De-centering English

https://fikrabiennial.com/program/de-centering-english/ https://art4d.com/2019/03/fikra-graphic-design-biennial-01-ministry-of-graphic-design Text by Santi Lawrachawee Fikra Graphic Design Biennial 01Conference, Nov 102 - 2:50pm De-centering English HUDA ABIFARÈS, SANTI LAWRACHAWEE, AND ASAD PERVAIZFIRST FLOOR, DEPT. OF MAPPING MARGINS We would need to move to a space of gesture and performance if we would want to imagine a de-colonial, critical graphic design. We would have to … Continue reading Fikra Graphic Design Biennial 01 — De-centering English

Interview — Xspace Gallery

Talk with Artist นักออกแบบผู้ก้าวข้ามพรมแดนระหว่างศิลปะและกราฟิกดีไซน์ สันติ ลอรัชวีถ้าพูดถึงชื่อ สันติ ลอรัชวี คนรักงานกราฟิกดีไซน์คงรู้จักเขาเป็นอย่างดีในฐานะนักนักออกแบบกราฟิกชาวไทย ผู้ร่วมก่อตั้งสตูดิโอกราฟิกดีไซน์ แพรคทิเคิล (Practical Design Studio) ผลงานของเขามักจะเป็นการสำรวจความเป็นระบบภาษาของกราฟิกและไทโปกราฟี หรือการออกแบบตัวพิมพ์ เขามักจะนำสิ่งเหล่านี้มาใช้ในการสื่อสารและแสดงออกทางความคิดของเขา  ผลงานของสันติที่หลายคนน่าจะเคยคุ้นตาคืองานแบบปกหนังสือหลากหลายเล่ม ไม่ว่าจะเป็นปกหนังสือชุด Wisdom Series อันประณีตงดงาม ของ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา แห่งสำนักพิมพ์ openbooks หรือปกหนังสือ มูซาชิ อันเรียบง่ายเฉียบคม และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลงานการออกแบบปกหนังสือ สิทธารถะ ของ เฮอร์มาน เฮสเซ ฉบับภาษาไทย ที่ออกแบบและผลิตอย่างประณีต พิถีพิถัน และงดงามไม่ต่างอะไรกับงานศิลปะ โดยพิมพ์ในจำนวนจำกัดเพียงแค่ 1,000 เล่ม และเปิดให้เข้าไปจับจองทางออนไลน์ ซึ่งก็สร้างปรากฏการณ์ด้วยการที่หนังสือถูกจองจนหมดเกลี้ยงภายในเวลาแค่ 12 ชั่วโมง สันติได้รับรางวัล Designer of the Year สาขาการออกแบบกราฟิกจากนิตยสาร Wallpaper* และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ … Continue reading Interview — Xspace Gallery

Interview — IDEA magazine Issue#394

IDEA magazine Issue#394Interview with Santi Lawrachawee Q1 Please introduce yourself briefly. Hi! Sawasdee krub, ผมชื่อสันติ ลอรัชวี ผมเป็นนักออกแบบกราฟิก ศิลปินทัศนศิลป์ และอาจารย์ด้านการออกแบบให้กับมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทย โดยได้ร่วมเปิดสตูดิโอออกแบบที่ชื่อ PRACTICAL Design Studio และล่าสุดได้ร่วมเปิดพื้นที่การเรียนรู้ด้านการออกแบบที่ชื่อว่า PRACTICAL school of design โดยทำงานศิลปะและงานเขียนบทความควบคู่ไปกับการทำงานออกแบบและงานสอน Hi! Sawasdee krub, my name is Santi Lawrachawee. I am a Thai graphic designer, artist, and instructor who has been instructing in multiple universities across Thailand. … Continue reading Interview — IDEA magazine Issue#394

Interview — The Cloud

10 ปีแห่งความทรงจำที่กลั่นเป็นนิทรรศการ — สนทนากลางสตูดิโอกึ่งห้องสมุดของ สันติ ลอรัชวี นักออกแบบกราฟิก ในวันที่จัดแสดงนิทรรศการเดี่ยวครั้งล่าสุด “MemOyoU” https://readthecloud.co/santi-lawrachawee/ STUDIO VISITSWriter: นิรภัฎ ช้างแดงPhotographer: เธียรสิน สุวรรณรังสิกุล และ วินัย สัตตะรุจาวงษ์— อารัมภบทเป็นส่วนเกินของบทความทันที เมื่อรู้ว่าวันนี้มีนัดหมายพูดคุยและเยี่ยมชมสตูดิโอของ ติ๊ก-สันติ ลอรัชวี หรือ ‘อาจารย์ติ๊ก’ ของเหล่านักเรียนออกแบบ บิ๊กเนมในวงการกราฟิกดีไซเนอร์และวงการศิลปะของไทย ผู้มีผลงานให้เราได้ทึ่งอยู่เสมอ บางคนรู้จักสันติในฐานะนักออกแบบกราฟิก ผ่านปกหนังสือ Wisdom Series ของ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา, สิทธารถะ เวอร์ชันแปลไทยโดย สดใส ขันติวรพงศ์ ฉบับ Book Lover Edition และโดยเฉพาะโปรเจกต์ ‘ฉันเป็นนักออกแบบกราฟิกไทย (I am a Thai Graphic Designer™)’ กิจกรรมของกลุ่มวิชาชีพที่เรียกเสียงฮือฮาได้ไม่น้อย บางคนรู้จักสันติในฐานะศิลปิน ผ่านนิทรรศการ Yes, I am not. (2008), เข้านอกออกใน-อุโมงค์คำว่า “กรุงเทพ” ที่มุดลอดเดินวนเล่นได้อย่างสนุกสนานในงานศิลปวัฒนธรรม “บางกอก…กล๊วย…กล้วย!!” (2009), หรือจากแถวหนังสือหนาเกือบเมตร … Continue reading Interview — The Cloud

Interview — Sarakadee Lite

“การออกแบบเป็นกิจกรรมของมนุษย์” สนทนาว่าด้วยการออกแบบในมุมมอง สันติ ลอรัชวีText: อชิตพนธิ์ เพียรสุขประเสริฐhttps://www.sarakadeelite.com/faces/santi-lawrachawee/ สันติ ลอรัชวี นักออกแบบที่มีผลงานทั้งทางด้านศิลปะ (Fine art) และงานออกแบบ (Design) มากมายไม่ว่าจะเป็นผู้ออกแบบ โลโก้ของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) หรืองานศิลปะเดี่ยวและกลุ่มอีกมากมายโดยล่าสุดที่เพิ่งเกิดขึ้นคือนิทรรศการเดี่ยว MemOyoU (Memorandum Of Understanding) ที่ CASE Space Revolution นอกจากงานศิลปะและการออกแบบแล้วยังมีผลงานหนังสือเช่น สันติวิธีที่ ๑ (สำนักพิมพ์คัดสรรดีมาก) หรืองานแปลอย่าง พอล แรนด์ บทสนทนากับนักเรียน (สำนักพิมพ์ลายเส้น) อีกทั้งยังทำงานเกี่ยวกับการเรียนการสอนและล่าสุดยังเปิดพิ้นที่ PRACTICAL school of design ที่จะมาส่งเสริมการค้นหาการเรียนรู้ด้านการออกแบบและสร้างสรรค์ ในครั้งนี้จึงได้ชวน สันติ ลอรัชวี มาสนทนาทั้งประเด็นทัศนะด้านการออกแบบและการเกิดขึ้นของ PRACTICAL school of design ว่ามีความคิดและที่มาที่ไปอย่างไรรวมถึงกลวิธีส่วนตัวที่ใช้ในการสร้างสรรค์มีกระบวนการคิดการทำอย่างไรจึงสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่น่าสนใจออกมาหลายรูปแบบและชวนติดตามในทุกๆผลงาน สำหรับตอนนี้คิดว่าการออกแบบมีความหมายครอบคลุมไปถึงไหนบ้าง? มันยืดหด ผมไม่ค่อยกล้าใช้คำว่าคำจำกัดความเพราะถ้าเราจำกัดมันจะอยู่กับที่ เราเลยมักติดตามความเป็นไปของมันว่ามันเป็นอะไรได้บ้าง อย่างในความหมายของตอนที่เราเด็กอยู่เราก็คิดว่ามันคือสิ่งสวยงามหรือบางทีเราโตขึ้นมาเราเรียนหน่อยเราก็คิดว่ามันมี ความคิด(Idea) … Continue reading Interview — Sarakadee Lite

News — MemOyoU — Kooper

“ ...ในบางศาสนา แม่น้ำคือสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนผ่าน และนี่อาจเป็นหนึ่งเหตุผลที่มีภาพของแม่น้ำมากมายในนิทรรศการนี้ หลังจากวนเวียนอยู่กับความทรงจำชุดนี้มาสิบปี นี่คือนิทรรศการที่เป็นเหมือนข้อตกลงร่วมกัน (Memorundum of Understanding) กับตัวเองว่าขอขอบคุณที่ช่วยประคับประคองกันมา แต่ตอนนี้ถึงเวลาที่ต้องก้าวต่อไปแล้ว” https://kooper.co/memoyou-by-santi-lawrachawee/ Date | June 15, 2021Writer | Chidsupang Chaiwiroj